เพราะกลัวสูญเสียเลยเสียหนักมากกว่าเดิม อุทธาหรณ์คาเฟ่กลางกรุง

ผมมีลูกค้าคนหนึ่งก่อนหน้าที่จะมาใช้บริการผมเขาเล่าว่าเคยเปิดคาเฟ่ในย่านเศรษฐกิจชื่อดังของกรุงเทพแล้วเจ๊งมาก่อนที่จะมีกิจการใหม่ในปัจจุบัน ขอแทนชื่อเขาว่าพี่เอ(นามสมมุติ)นะครับ ซึ่งกิจการด้งกล่าวแม้ว่าย่านนั้นจะเป็นย่านเศรษกิจมีชื่อเสียงดีนักท่องเที่ยวและคนทำงานเยอะ แต่ที่ตั้งของร้านกลับอยู่ในจุดที่ค่อนข้างอับ เป็นช่วงก่อนโดวิด เรื่องราวของเขาทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีที่น่าสนใจอย่าง Prospect Theory ที่พัฒนาโดย Daniel Kahneman และ Amos Tversky ในปี 1979

Prospect Theory กับการตัดสินใจของเจ้าของธุรกิจ

พฤติกรรมนี้อธิบายได้ด้วย Prospect Theory ซึ่งพัฒนาโดย Daniel Kahneman และ Amos Tversky ในปี 1979 ทฤษฎีนี้กล่าวว่า มนุษย์ให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงความรู้สึกสูญเสียมากกว่าการได้รับผลกำไร ซึ่งส่วนหนึ่งของทฤษฏีนี้คือ Loss Aversion กลัวการรู้สึกสูญเสียมากกว่าที่จะยินดีกับกำไร ในระดับเดียวกันการเสียเงิน 100 บาทจะรู้สึกแย่กว่าการได้ 100 บาทจะรู้สึกดี เช่นในวงการหุ้นนักลงทุนมักจะถือหุ้นที่ขาดทุนไว้นานเกินไป เพราะไม่อยากยอมรับการสูญเสีย หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk aversion) เพราะชอบกำไรที่แน่นอน 

ถ้าให้ยกตัวอย่างในไทยก็ช่วงต้มยำกุ้งนั่นแหละที่...

ในช่วงแรก ธุรกิจของพี่เอดำเนินไปได้ด้วยดี ยอดขายเป็นที่น่าพอใจ ก็เหมือนคาเฟ่ทั่วไปครับลูกค้าเยอะมากทั้งสายถ่ายรูปเช็คอินและสายรีวิว ทำคอนเทนต์ลงอินเตอร์เนต ทั้ง you tube , Instagram , face book แต่หลังจากผ่านไป 6 เดือน สถานการณ์กลับเปลี่ยนไป ยอดขายเริ่มลดลงและไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้เริ่มมีรีวิวด้านลบเข้ามาเช่นที่จอดรถน้อย การเดินทางค่อนข้างลำบาก

ที่น่าคิดคือ ณ ช่วงเวลานั้นเป็นช่วง โควิดช่วงแรกๆ ย่านนั้นประสบปัญหาแทบทุกกิจการ พี่เอกล่าวว่าแทนที่ตอนนั้นผมจะยอมรับความจริงว่าไม่น่าไปต่อได้หากดูจากสถาณการณ์ที่จีนที่เริ่มปิดเมืองและกักต้วกันแล้ว กลับเลือกที่จะกู้เงินมาเพื่อปรับปรุงร้านและจัดโปรโมชั่นเพิ่มเติม เขาหวังว่าการลงทุนเพิ่มจะช่วยพลิกสถานการณ์ได้ แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม ยิ่งทำให้ขาดทุนมากขึ้นไปอีก

ในช่วงที่สถานการณ์เริ่มย่ำแย่ แต่ก็ยังมีผู้สนใจเสนอขอซื้อกิจการ แม้ว่าจะขาดทุนครึ่งหนึ่งของเงินลงทุน แต่ก็ยังดีกว่าการสูญเสียทั้งหมด ตอนนั้นพี่เอคิดแค่ว่าในเมื่อมีคนเสนอราคานี้แล้วถ้าขอลองทำต่อสักพักแล้วยังไปไม่รอดก็ยังขาดทุนแค่นี้ จึงกู้เงินอีกและทำต่อสุดท้ายก็ยังคงขาดทุนแถมเมื่อติดต่อผู้ที่เคยเสนอซื้อกิจการเขาก็เปลี่ยนใจแล้ว

เหตุการณ์นี้เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า การยอมรับความสูญเสียเล็กน้อยในเวลาที่เหมาะสม อาจดีกว่าการฝืนต่อไปจนขาดทุนหนักกว่าเดิม หลายครั้ง ความหวังและอารมณ์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากกว่าข้อเท็จจริง หากยอมรับความเป็นจริงเร็วกว่านี้ อาจสามารถลดความเสียหาย และวางแผนธุรกิจใหม่ได้โดยไม่ต้องจบลงด้วยหนี้สินจำนวนมาก

สุดท้ายแล้ว ในโลกของธุรกิจ การตัดสินใจที่ดีไม่ได้หมายถึงการสู้จนหยดสุดท้ายเสมอไป แต่คือการรู้ว่าเมื่อไหร่ควรเดินหน้าต่อ และเมื่อไหร่ควรถอยเพื่อเริ่มต้นใหม่ย่อมไปได้เร็วกว่าเสมอ

การทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง แต่การรู้จักประเมินสถานการณ์และตัดสินใจอย่างชาญฉลาดจะช่วยลดความเสียหายได้ บางครั้ง การยอมรับความสูญเสียเล็กน้อยในวันนี้ อาจช่วยป้องกันความสูญเสียที่ใหญ่กว่าในอนาคตได้

#สินเชื่อเพื่อธุรกิจ #กู้เงินด่วน #สินเชื่อเงินด่วน #เงินกู้ #บริหารธุรกิจ #SME #StartupTips